วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานชื้นที่ 2


1.       กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ กฎหมายมีลักษณะ  ๕ ประการ 1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ  2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์  3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป 4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม  5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ 1. สร้างความเป็นธรรม 2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบติต่อสังคม 3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ 4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง 5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน 
4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ  1. แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย  2. แบ่งโดยฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน 3. แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย  4. แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย 5. การแบ่งโดยสภาพบังคับของกฎหมาย 
5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ  รัฐธรรมนูญ - พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ - พระราชบัญญัติ - พระราชกำหนด - พระราชกฤษฎีกา - กฎกระทรวง - ข้อบัญญัติท้องถิ่น
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ ระบบนี้มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันเป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นยุโรป เช่น อิตาลี ฝรั่งเศษ เยอรมัน และขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศแถบเอเชียโดยเริ่มจากประเทศญี่ปุ่นจนมาถึงประเทศไทย หลัการสำคัญของระบบ Civil Law คือกฏหมายจะมีการถูกรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษร ตัวกฏหมายลายลักษณ์อักษรจะถูกใช้เป็นหลักในการพิจารณาคดี โดยส่วนใหญ่กฏหมายจะถูกออกโดยรัฐสภาอาจจะมีบ้างที่มีบ่อเกิดมาจากจารีตประเพณีแต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้น

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  ระบบนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ เป็นระบบที่ใช้กันในประเทศที่มีความเกี่ยวพันกับประเทศอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐ อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ประเทศอื่นๆ ที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หลักการสำคัญของระบบ Common Law คือ ยึดเอาคำพิพากษาของศาลเป็นหลัก เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วคำพิพากษานั้นจะถูกใช้เป็นหลักกฏหมายในการพิจารณาคดีต่อๆไปและก็เพราะเหตุนี้ จึงเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “Judge made law” โดยส่วนใหญ่กฏหมายในระบบนี้จะมีบ่อเกิดมาจากจารีตประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคมเป็นหลัก
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ  มี2 ระบบ ได้แก่  1. กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 2.กฎหมายลายลักษณ์อักษร 
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  กฏหมายแบบ civil law  หรือกฏหมายแบบลายลักอักษร 
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ  ได้แก่ 1.ประชากร 2. ดินแดนที่มีอาณาเขตที่แน่นอน 3. รัฐบาล 4. อำนาจอธิปไตย  

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012


Defense.gov photo essay 120528-D-BW835-540(2).jpgMitt Romney speaking close up cropped.jpg
ผู้แทนพรรคบารัก โอบามามิตต์ รอมนีย์
พรรคพรรคเดโมแครตพรรครีพับลิกัน
Home stateรัฐอิลลินอยส์รัฐแมสซาชูเซตส์
Running mateโจ ไบเดนพอล ไรอัน
Electoral vote332206
States carried26 + ดี.ซี.24
คะแนนนิยม61,681,462[1]58,488,199[1]
ร้อยละ50.6%[1]47.9%[1]

ElectoralCollege2012.svg
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐหรือเขตที่โอบามา/ไบเดนชนะ
สีแดง แสดงถึงรัฐหรือเขตที่รอมนีย์/ไรอันชนะ
ตัวเลขหมายถึงจำนวนคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งซึ่งจะเป็นของผู้ชนะในเขตนั้น

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 และมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน คู่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง คู่แข่งคนสำคัญ คือ มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันและอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ และวุฒิสมาชิกพอล ไรอัน คู่ลงสมัคร จากรัฐวิสคอนซิน
ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งวุฒิสมาชิกหนึ่งในสาม (33 ที่นั่ง) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสองปีเพื่อเลือกตั้งสมาชิกมายังสมัยประชุมสภาคองเกรสที่ 113 นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในหลายรัฐพร้อมกันด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ASEAN


800px-flag_of_asean_svg


                                                 อาเซียน

1.  ความเป็นมาของการรวมกลุ่มอาเซียน
          การจัดตั้งอาเซียน
         อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2513 อันเป็นผลจากการประชุมที่กรุงเทพฯ โดยสมาชิกก่อตั้งของสมาคมฯมี ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพแสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันและจำนวนสมาชิกจะคงอยู่เท่านี้มาอีก 17 ปี ในวันที่ มกราคม 2527บรูไน ดารุสซาลัมจึงเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ และจากนั้นเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540 กัมพูชาเมื่อ 30 เมษายน 2542 รวม 10 ประเทศ ปัจจุบันอาเซียนมีประชากรรวม 503 ล้านคน มีดินแดนรวมกัน 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 737พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการค้ารวม 720 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
         เมื่อแรกนั้นประเทศสมาชิกก่อตั้งแสดงเจตนารมณ์ว่ามีความประสงค์ให้อาเซียนเป็นเวทีความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันด้านเศรษฐกิจ แต่ในข้อเท็จจริงแล้วอาเซียนมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจน้อยมากจนกระทั่ง 10 ปีให้หลังคือในปี 2520จึงได้เริ่มมีการดำเนินการจริงจังตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งอาเซียนโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ประชุมกันที่กรุงมะนิลา และบรรลุข้อตกลงเป็นครั้งแรกที่จะเจรจาลดภาษีศุลกากรเป็นรายสินค้า ซึ่งแม้ว่าจะดูเป็นการเคลื่อนไหวที่ช้ามากสำหรับการที่จะเปิดประเทศรองรับการค้าเสรี แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นผลมาจากการประนีประนอมระหว่างประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมกับประเทศที่อุตสาหกรรมยังล้าหลัง ซึ่งฝ่ายหลังนี้อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกที่มีประชากร 120ล้านคนตกอยู่ในฐานะดังกล่าวด้วย แต่พํฒนาการของอาเซียนดังกล่าวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญ จนกระทั่งเข้าสู่ศควรรษใหม่ ในเดือนตุลาคม 2546 ในการประชุมระดับผู้นำอาเซียนที่เมืองบาหลีประเทศอินโดนีเซียได้มีการประกาศเจตนารมณ์ที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนขึ้น ซึ่งได้นับการสนับสนุนจากประชาคมโลกทั่วไปโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งมีประสบการณ์ในการบูรณาการประเทศต่างๆเข้าด้วยกันมาก่อน
     2. สมาชิกของกลุ่มอาเซียน
         สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง